สถิติการเข้าเวปไซต์ |
ผู้ชมวันนี้ |
396 |
ผู้ชมเมื่อวาน |
230 |
ผู้ชมเดือนนี้ |
8,419 |
ผู้ชมเดือนที่ผ่านมา |
8,814 |
ผู้ชมปีนี้ |
8,419 |
ผู้ชมปีที่ผ่านมา |
49,409 |
เริ่มนับ 30 ตุลาคม 2558
|
|
 |
วัดสันทรายต้นกอก |
|
เดิมชื่อ วัดสลีปิงชัยแก้วกว้าง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นวัดสันทรายต้นกอก เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้านและเป็นเอกลักษณ์ของวัด ชมความงามของพระวิหาร พระอุโบสถ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนา พระพุทธรูปเก่าแก่ศิลปะล้านนา ผสมผสานแบบพม่า อีกทั้งเป็นแหล่งสืบสานวัฒนธรรมล้านนาให้กับอนุชนรุ่นหลัง
ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ ต. ฟ้าฮ่าม อ. เมือง จ. เชียงใหม่ ๕๐๐๐๐
ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อดวงดีสลีปิงชัยศักดิ์สิทธิ์ วัดสันทรายต้นกอก จากตำนานและคำบอกเล่าสืบๆ กันมา หลวงพ่อดวงดีสลีปิงชัย เป็นพุทธรูปปูนปั้นก่ออิฐถือปูนศิลปะล้านนาผสมไทเขิน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก ๕๐ นิ้ว สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อ ก่อนที่แผ่นดินล้านนาจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ หรือประมาณ พุทธศักราช ๒๑๐๕เดิมวัดชื่อว่า ?วัดสลีปิงชัยแก้วกว้าง? เมื่อมีการก่อสร้างวัดได้ไม่นานล้านนาก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ซึ่งก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้นของพม่านั้น อยู่ในช่วงปลายของราชวงศ์มังราย หลังจากนั้นปี ๒๑๐๑ มังทราเจ้าฟ้าหงสา (พระเจ้าบุเรงนอง) กษัตริย์แห่งอาณาจักรหงสาวดี(พม่า) ได้เข้ายึดครองล้านนากับพระเจ้าแม่กุ เป็นปฐมกษัตริย์ปกครองล้านนาภายใต้การปกครองของหงสาวดี เป็นต้นมา จนล่วงเลยมาผ่านระยะเวลา ๒๐๐ กว่าปี เมื่อปี พุทธศักราช ๒๓๑๗ ? ฟื้นม่าน? ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๑๗-๒๓๒๕ ซึ่งอยู่ในระหว่างการปกครองสมัยกรุงธนบุรี ในขณะปี พุทธศักราช ๒๓๒๕ ได้มีการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขึ้นครองราชย์ ได้ทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งพระเจ้ากาวิละดำรงตำแหน่งสำคัญในเมืองเชียงใหม่และลำปาง เพื่อร่วมกันสร้างปึกแผ่นแก่ล้านนา พระเจ้ากาวิละจึงทำหน้าที่สร้างบ้านแปลงเมืองเชียงใหม่ โดยทำสงครามขับไล่พม่าได้สำเร็จ เมื่อพระเจ้ากาวิละได้ฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่โดยการ ?เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง? หรือรวบรวมพลเมืองเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองเชียงใหม่โดยกวาดต้อนชาวเมืองที่หลบหนีเข้าป่าและกวาดต้อนผู้คนจากสิบสองปันนาและรัฐฉานมาเชียงใหม่ ในขณะนั้นเองชาวสิบสองปันนา( ชาวเขิน) ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในหมู่บ้านเมืองลังและได้พากันอพยพข้ามแม่น้ำปิงมาทางทิศตะวันออกเห็นเจดีย์เก่าและพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนงดงามยิ่งนักแต่ชำรุดทรุดโทรมและพากันตั้งหมู่บ้านรอบๆบริเวณวัดและได้อาราธนาครูบาแดง มาเป็นเจ้าอาวาสเพื่อบูรณปฎิสังขรณ์วัดวาอาราม และพระพุทธรูปให้สวยสดงดงามตามเดิม ได้ทำการเฉลิมฉลองกันและขนานพระนามพระพุทธรูปว่า ?หลวงพ่อพระเจ้าดวงดีสลีปิงชัย? โดยอาศัยความเชื่อที่ว่า ชาวบ้านทั้งหลายได้อพยพกลับมาเมืองเชียงใหม่ได้ร่วมกันบูรณปฎิสังขรณ์องค์พระจนสำเร็จลุล่วงด้วยดี ถือเป็นมงคลดี ดวงดีและโชคดีที่ชาวบ้านได้กลับมาเมืองเชียงใหม่อีกครั้งหนึ่ง ชาวบ้านจึงเรียกขานชื่อหลวงพ่อดวงดีมาช้านานด้วยความเคารพเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ในแต่ละวันจะมีชาวบ้านพ่อค้าแม่ค้า ข้าราชการ ตลอดถึงนักเสี่ยงโชค ต่างมากราบขอพรหลวงพ่อให้สำเร็จตามความปรารถนา
(ขอขอบคุณข้อมูลจาก พระปลัดเฉลิมพล สิริวฑฺฒโน)
|
|
 |
|